วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติ Visual Basic

ในปี ค.ศ. 1991 บริษัทไมโครซอฟท์ได้นำเสนอรูปแบบการพัฒนาแอพลิเคชันในรูปแบบ Windows ด้วยการเปิดตัวโปรแกรม Visual Basic 1.0 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนรูปแบบของการเขียนโปรแกรมให้ต่างจากเดิมแบบสิ้นเชิง เพราะความยุ่งยากซับซ้อนของคำสั่งถูกซ่อนไว้ (Encapsulated) มีแต่ความสะดวกสบายในรูปแบบเครื่องมือ (Tool) ต่าง ๆ ที่โปรแกรมเมอร์สามารถนำมาใช้ในการออกแบบโปรแกรมได้อย่างง่ายดาย ซึ่งได้สร้างความแปลกใหม่ให้โปรแกรมเวอร์ชันยุคนั้นเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งในยุคปัจจุบัน Visual Basic ได้พัฒนามาถึงเวอร์ชัน 6.0 (ไม่กล่าวถึง Visual Basic .Net และ Visual Basic 2005 เนื่องจากมี Platform ต่างกัน) ซึ่งทำให้ Visual Basic มีความสามารถมากขึ้น เช่น สามารถสร้างแอพพลิเคชันชนิด DHTML ซึ่งใช้รันบนเว็บไซต์ได้, รวมถึงการผนวกเทคโนโลยี ActiveX เข้ากับคอนโทรลของ Visual Basic ทำให้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับโปรแกรมภาษาระดับสูงอื่น ๆ ได้ง่ายดาย
อย่างไรก็ดี Visual Basic ยังคงรักษาเอกลักษณ์อย่างหนึ่งไว้ได้เป็นอย่างดีนั่นคือ ความง่ายต่อการเรียนรู้ในโครงสร้างภาษาและชุดคำสั่ง ทำให้สามารถพัฒนาแอพพลิเคชันได้ในระยะเวลาอันสั้นและรวดเร็ว (Rapid application development, RAD) อีกทั้งสามารถทำความเข้าใจได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับการเริ่มต้นเรียนรู้ด้วยภาษาอื่นๆ


การออกแบบโปรแกรมด้วยคอนโทรล

Visual Basic 6.0 ได้จัดเตรียมเครื่องมือต่างๆ ที่เรียกว่า คอนโทรล (Controls) ไว้คอยอำนวยความสะดวกให้แก่โปรแกรมเมอร์มากมาย ซึ่งเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับตัวคอนโทรลให้มากที่สุด ซึ่งคอนโทรลเหล่านี้นี่เองที่อยู่เบื้องหลังทำให้ Visual Basic ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถลดขั้นตอนของการเขียนโปรแกรมที่ยุ่งยากให้ลดได้มากทีเดียว
แนวทางการเขียนโปรแกรมด้วย Visual Basic จะเป็นไปในลักษณะการนำคอนโทรลชนิดต่างๆ เช่น ปุ่มกด (Command button), ช่องรับข้อความ (TextBox), ลาเบล, ComboBox เป็นต้น นำมาวาดลงบนฟอร์มเพื่อออกแบบหน้าตาแอพพลิเคชันที่เรียกว่ากราฟฟิกยูสเซอร์อินเตอร์เฟส (Graphic User Interface-GUI)
เราสามารถออกแบบหน้าตาอินเตอร์เฟสได้อย่างอิสระให้ตรงกับจุดประสงค์และการนำไปใช้งานของเราก่อน แล้วจึงเริ่มเขียนโค้ดเพื่อตอบสนองการกระทำของผู้ใช้ซึ่งถือเป็นหลักการเขียนโปรแกรมที่เรียกว่า การเขียนโปรแกรมสำหรับตอบสนองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (Event-Driven Programming)


คอนโทรลที่เรานำมาออกแบบเพื่อสร้างแอพพลิเคชันจะถูกมองเปรียบเสมือนว่าเป็นวัตถุชิ้นหนึ่งที่เรียกว่า อ๊อบเจ็กต์ (Object model) ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างในแอพพลิเคชัน Visual Basic จะมองเป็นอ๊อบเจ็กต์ ที่เราสามารถควบคุมพฤติกรรม, แก้ไขและกระทำโดยตรงต่ออ๊อบเจ็กต์นั้นได้ ด้วยการเขียนโค้ดเข้าไปควบคุมการทำงานหรือสามารถเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ (พร็อพเพอร์ตี้, Properties) ประจำตัวของอ๊อบเจ็กต์นั้นได้โดยตรง ซึ่งทุก ๆ อ๊อบเจ็กต์จะมีคุณสมบัติและเมธอด (Method) ประจำตัวของแต่ละอ๊อบเจ็กต์ ซึ่งอ๊อบเจ็กต์แต่ละตัวอาจจะมีคุณสมบัติและเมธอดที่เหมือนหรือต่างกันก็ได้ โปรแกรมเมอร์จะพัฒนาแอพพลิเคชันได้ดีหรือไม่ส่วนหนึ่งจะมาจากการที่เราสามารถใช้งานคอนโทรล, แก้ไขคุณสมบัติและเมธอดได้ตรงตามความต้องการ และเต็มประสิทธิภาพของคอนโทรลนั้นๆ ได้หรือไม่
นอกจาก Visual Basic จะมีคอนโทรลต่าง ๆ ที่ถูกติดตั้งมาด้วยแล้ว ยังมี ActiveX คอนโทรลที่พัฒนาโดยซอร์ฟแวร์เฮาส์ต่าง ๆ (Third party ActiveX control) สำหรับเพิ่มขีดความสามารถให้ Visual Basic โดยเฉพาะอีกด้วย
CodeJock ActiveX คอนโทรลสามารถแสดงหน้าตา (skin) เหมือนวินโดว์ Vista

บทความในตอนนี้เราก็ได้พูดถึงประวัติของวิชวลเบสิกที่มีมาแต่ยาวนาน และลักษณะการทำงานของโปรแกรมที่เป็นลักษณะ Event driven คือการตอบสนอง (Action)ต่อเงือนไขที่กำหนดให้ ในบทความต่อไปเราก็จะพูดถึงลักษณะฟีเจอร์ต่าง ๆ และการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น