วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คำสั่ง (Statement) และโพรซีเยอร์ (Procedure) ภาค1

        ในบทความนี้เราจะทบทวนคำสั่งที่สำคัญใน Visual Basic เช่น การเขียนโปรแกรมวนซ้ำสำหรับการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือการตรวจสอบเงื่อนไขใด ๆ และการเขียนโปรแกรมการตรวจสอบเงื่อนไขจากข้อกำหนดต่าง ๆ ที่มีให้เลือกและการเรียกใช้โพรซีเยอร์ชนิดซับรูทีนและฟังก์ชัน

คำสั่ง (Statement) ใน Visual Basic
คำสั่งและฟังก์ชันของ Visual Basic ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่โปรแกรมเมอร์หรือผู้ที่เริ่มเขียนโปรแกรมควรจะทำความเข้าใจให้มากที่สุด เพราะถือว่าเป็นหัวใจของการเขียนโปรแกรมไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม Visual Basic หรือโปรแกรมภาษาได ๆ ก็ตาม ถ้าเราทราบความหมาย, รูปแบบการใช้งานและทราบหน้าที่ของคำสั่งหรือฟังก์ชันมากเท่าใด เราจะสามารถปรับแต่งโค้ดของเราให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่เท่านั้น ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าผู้อ่านจะต้องจดจำทุกคำสั่งหรือทุกฟังก์ชัน เพียงแต่ให้เข้าใช้ว่าว่าโดยรวมแล้วโครงสร้างของแต่ละคำสั่งหรือฟังก์ชันทำงานอย่างไร อะไรคืออินพุต อะไรคือเอาท์พุต เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยให้เราสามารถเลือกใช้งานคำสั่งหรือฟังก์ชันได้เหมาะสมกับแอพลิเคชันของเรามากที่สุด

ในบทนี้เราจะทบทวนการใช้คำสั่งของ Visual Basic ที่สำคัญ 3 หมวดคือ
1.       คำสั่งที่เกี่ยวกับการสร้างเงื่อนไข (Condition Statements)
2.       กลุ่มคำสั่งที่ใช้สำหรับวนซ้ำ (Iterations)
3.       การสร้างโพรซีเยอร์ทั่วไป (Procedure)

ชนิดของคำสั่ง (Statement type)
ตัวอย่าง
กลุ่มคำสั่งที่เกี่ยวกับการสร้างเงื่อนไข (Condition Statements)
- if Num > 0 then Num = Num * 2 ' โครงสร้างพื้นฐานของ logic building block
- Select Case .... End Case
กลุ่มคำสั่งที่ใช้สำหรับสั่งให้ทำซ้ำ (Loop Statements)
- for i = 1 to 5 ‘ทำซ้ำในจำนวนรอบที่แน่นอน
- while ( val(i) > val(imin) ) 'ทำซ้ำจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ
โพรซีเยอร์ชนิดฟังก์ชันหรือซับรูทีน
- Private Sub Delay() 'ซับรูทีนไม่มีการส่งค่ากลับมา
- Function RectArea() As Double  'ฟังก์ชันส่งค่าคืนกลับ

คำสั่งที่เกี่ยวกับการสร้างเงื่อนไข (Condition Statements)
คำสั่งที่เกี่ยวกับการสร้างเงื่อนไข (Condition Statements) เป็นกลุ่มคำสั่งที่ต้องใช้มากที่สุดในการเขียนโปรแกรมไม่ว่าเป็นโปรแกรมด้วยภาษาอะไรก็ตามและก็ถือได้ว่าเป็นกลุ่มคำสั่งพื้นฐานที่มีความสำคัญมากที่สุดด้วย

คำสั่ง If-Then
คำสั่ง If-Then เป็นรูปแบบอย่างง่ายที่สุดของโครงสร้าง Condition Statements เป็นการตรวจสอบค่าของตัวแปรในเงื่อนไขที่เราสนใจ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงก็จะทำตามเงื่อนไขนั้น ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานดังนี้


 
If condition Then statements

ตัวแปร condition หมายถึง เงื่อนไขที่กำหนด
ตัวแปร statements หมายถึง เมื่อเงื่อนไขเป็นจริงแล้วจะให้ทำอะไร เช่น

If counter < 10 Then b = a + counter

จากตัวอย่าง ถ้าตัวแปร counter น้อยกว่า 10 ให้เอาค่าในตัวแปร a + counter และเก็บไว้ในตัวแปร b ซึ่งจะเห็นว่าจะมีการบวกกันในกรณีที่ค่าในตัวแปร counter น้อยกว่า 10 เท่านั้น และเมื่อตัวแปร counter มากกว่า 10 ก็จะไม่มีผลอะไร แต่เรายังสามารถสร้างเงื่อนไขเพิ่มขึ้นเผื่อไว้ในกรณีที่เงื่อนไขไม่เป็นจริงโดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้


If condition Then
statements
Else
elsestatements
End If

คำสั่ง Else หมายถึง กรณีที่เงื่อนไขดังกล่าวเป็นเท็จ
คำสั่ง End If หมายถึง จบเงื่อนไข
ตัวแปร elsestatements หมายถึง ชุดคำสั่งที่จะทำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ เช่น

If counter < 10 Then
b = a + counter
Else
b = a - counter
End If

จากตัวอย่างจะเห็นว่าเมื่อตัวแปร counter มากกว่าหรือเท่ากับ10 จะทำให้เงื่อนไขเป็นเท็จ ให้เอาค่าตัวแปร a - counter และให้เก็บไว้ในตัวแปร b ซึ่งทำให้เราสามารถจัดการกับเงื่อนไขทั้งที่เป็นจริงและเป็นเท็จได้ นอกจากนี้เรายังสามารถเพิ่มกรณีตรวจสอบเงื่อนไขมากขึ้นได้อีก ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานดังนี้
  
If condition Then
statements
ElseIf condition2 Then
elseifstatements
Else
elsestatements
End If

คำสั่ง ElseIf หมายถึง คำสั่งสำหรับเพิ่มกรณีตรวจสอบขึ้นมาเพื่อสร้างเงื่อนไขขึ้นมาอีก 1 กรณี
ตัวแปร condition2 หมายถึง เป็นเงื่อนไขที่ 2 ที่กำหนดขึ้นมา
ตัวแปร elseifstatements หมายถึง ชุดคำสั่งสำหรับกรณีเงื่อนไขที่ 2 เช่น

If counter < 10 Then
b = a + counter
ElseIf counter < 20 Then
b = a * counter
Else
b = a / counter
End If

สมมติว่าตัวแปร counter = 11 ซึ่งจะทำให้กรณีแรก (counter<10) เป็นเท็จทันทีจึงมาที่เงื่อนไขที่ 2 ปรากฏว่าเป็นจริงจึงนำค่าตัวแปร a*counter แล้วเก็บไว้ในตัวแปร b แต่ถ้าเปลี่ยน counter = 30 ซึ่งไม่เข้าทั้งเงื่อนไขของกรณีที่ 1 และ 2    ก็จะมาทำคำสั่งที่อยู่ในเงื่อนไข else นั่นเอง
เราสามารถเพิ่มกรณีตรวจสอบแบบนี้ได้ไม่จำกัด กล่าวคือ ใส่ชุดของ ElseIf condition2 Then elseifstatements มากเท่าใดก็ได้ตามที่เราต้องการ แต่ถ้ามีการตรวจสอบเงื่อนไขมากๆ หลายกรณีโปรแกรมเมอร์ไม่นิยมใช้ชุดคำสั่งนี้เนื่องจากจะทำให้โครงสร้างซับซ้อนอาจสับสนได้ง่าย ดังนั้นเราจะนิยมใช้ชุดคำสั่ง Select Case มากกว่า ซึ่งจะพูดถึงในภาค 2 ต่อไป

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เริ่มต้นกับ Visual Basic ภาค 3

ขั้นตอนการออกแบบโปรแกรม Visual Basic
โดยทั่วไปขั้นตอนการออกแบบโปรแกรมด้วย Visual Basic ไม่ได้มีข้อกำหนดที่แน่นอน บางโปรแกรมไม่มีความซับซ้อนอาจจะไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามลำดับขั้น แต่บางโปรแกรมมีความซับซ้อนจำเป็นต้องมีการระบุลำดับการทำงานเป็นขั้นตอน ซึ่งจะทำให้ทำงานได้ง่ายเป็นสัดส่วนยิ่งขึ้น ปกติการออกแบบโปรแกรม Visual Basic มีขั้นตอนตามลำดับดังนี้
1. ศึกษาความต้องการของโปรแกรม
2. ออกแบบหน้าจอของโปรแกรมและขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม
3. เขียนโปรแกรมให้ตรงตามความต้องการ
4. ทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
5. แจกจ่ายโปรแกรม

ตัวอย่างการออกแบบโปรแกรมด้วย Visual Basic
ดาวน์โหลดไฟล์ ทีนี่
1. กำหนดความต้องการของโปรแกรม
เราจะสร้างโปรแกรมคำนวณพื้นที่ของวงกลม ซึ่งผู้ใช้จะต้องกำหนดรัศมีของวงกลมลงในช่องกรอกข้อมูล (Text Box) แล้วกดปุ่มคำนวณเพื่อหาค่าพื้นที่ของวงกลมซึ่งจะแสดงผลใน Text Box อีกตัว


2. ออกแบบหน้าจอของโปรแกรมและขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม

ออกแบบโปรแกรม
1. เพิ่ม Command button, Text Box และ Label มาวางบนฟอร์ม
2. กำหนดฟอร์มขนาดเท่ากับขนาดดีฟอลท์ของ Visual Basic 6.0 (Width =4800, Height = 3600)
ออกแบบหน้าตาโปรแกรมดังรูป


อ๊อบเจกต์
พร็อพเพอร์ตี้
ค่าที่กำหนด
Form1
Name
frmCycle
Caption
พื้นที่ของวงกลม
Text1
Name
txtRadius
Text2
Name
txtArea
Label1
Name
lblRadius
Caption
รัศมีวงกลม
Label2
Name
lblArea
Caption
พื้นที่ของวงกลม
Command Button1
Name
cmdCalculate
Caption
คำนวณ
Command Button2
Name
cmdExit
Caption
จบการทำงาน

การคำนวณหาพื้นที่ของวงกลมใช้สูตรคำนวณดังนี้


พื้นที่ของวงกลม  = 3.141593 * (รัศมี ^2)


3.  เขียนโปรแกรม (เขียนโค้ดของโปรแกรม)


Option Explicit
Private Sub cmdCalculate_Click()
Dim Area As Single, Radius As Single
Radius = Val(txtRadius.Text)  ‘กำหนดให้ตัวแปร Radius รับค่าจาก txtRadius.Text
Area = 3.141593 * (Radius ^ 2)  ‘คำนวณพื้นที่ของวงกลม
txtArea = Area
End Sub

Private Sub cmdExit_Click()
End
End Sub


4. ทดสอบโปรแกรม
   4.1 รันโปรแกรมโดยกดปุ่มรันบนทูลบาร์หรือกดคีย์ F5 บนแป้นพิมพ์คีย์บอร์ด
   4.2 กำหนดรัศมีของวงกลมใน txtRadius และกดปุ่ม “คำนวณ” พื้นที่ของวงกลมที่คำนวณได้จะ
แสดงใน txtArea


    4.3 กดปุ่ม “จบการทำงาน” เพื่อออกจากโปรแกรม

5. แจกจ่ายโปรแกรม (สร้างไฟล์ EXE)
ในขั้นตอนนี้เราจะคอมไฟล์โปรเจคให้เป็นไฟล์ที่มีนามสกุล .exe เพื่อนำไปติดตั้งในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยไม่ต้องรันจากโปรแกรม Visual Basic โดยตรง ***
*** อาจจะตั้งติดตั้งโปรแกรม Visual Basic Run time 6.0 สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้ติดตั้งโปรแกรม Visual Basic 6.0
1. เลือกเมนู File > Make Project1.exe


2. ตั้งชื่อไฟล์และเลือกพาธที่ต้องการบันทึก และกดปุ่ม “OK”




3. ไฟล์ exe จะถูกสร้างขึ้นและสามารถรันโปรเจคได้โดยไม่ต้องเปิดโปรแกรม Visual Basic

ในบทความต่อไปเราจะทบทวนการใช้คำสั่ง (Statement) ต่าง ๆ ของ Visual Basic ที่เป็นพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมแบบการตอบสนองเหตุการณ์และเงื่อนไข (Event-Driven) เช่น การทำงานแบบวนซ้ำ, การตรวจเงื่อนไข และการทำงานแบบโพรซีเยอร์ชนิดซับรูทีนและฟังก์ชัน

เริ่มต้นกับ Visual Basic ภาค 2

หน้าต่างคุณสมบัติ (Properties Window)
                หน้าต่างคุณสมบัติใช้สำหรับการกำนหนดค่าคุณสมบัติหรือการปรับแต่งค่าเริ่มต้น (Initial) ของคอนโทรลหรืออ๊อบเจ็กต์ใด ๆ



ในบทต่อไปเราจะเรียกคุณสมบัติของคอนโทรลใด ๆ ว่า “พร็อพเพอร์ตี้” ซึ่งส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคยและเป็นสากลมากกว่า

หน้าต่าง Project Explorer (Project Explorer Window)

หน้าต่าง Project Explorer ช่วยให้เราสามารถบริหารและจัดการหลายๆโปรเจ็กต์ได้ในเวลาเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเนื่องจาก Visual Basic 6.0 สนับสนุนการพัฒนาแบบ Multiple Project ซึ่งสามารถบันทึกโปรเจ็กต์เป็นกลุ่มงานได้ (นามสกุล .vbg) โดยที่ Visual Basic จะจัดกลุ่มโปรเจ็กต์ต่างๆ ให้เราโดยอัตโนมัติ ซึ่งถ้ามีโปรเจ็กต์เดียวก็จะมีนามสกุล .vbp


โปรเจค group

สำหรับรายการชนิดของอ๊อบเจ็กต์ที่ปรากฎอยู่ในหน้าต่าง Project Explorer นี้มีหลายชนิด โดยทั่วไปการสร้างแอพลิเคชันให้ดีระดับหนึ่งจะมีอ๊อบเจ็กต์แต่ละชนิดดังนี้



ตารางแสดงอ๊อบเจ็กต์ของแอพลิเคชัน

ชนิดอ๊อบเจ็กต์
รายละเอียด
Project(n)
แสดงแอพพลิเคชันที่กำลังพัฒนาอยู่ อาจมีโปรเจ็กต์เดียวหรือหลายโปรเจ็กต์ก็ได้ โดยปกติจะมีนามสกุล .vbp ถ้ามีหลายโปรเจ็กต์จะมีนามสกุล .vbg
Form(n)
เป็นรายการฟอร์มที่มีอยู่ในโปรเจ็กต์นั้นๆ ในโปรเจ็กต์อาจมีมากกว่า 1 ฟอร์มก็ได้ จะมีนามสกุล .frm
Modules
เป็นที่เก็บชุดคำสั่งหรือรูทีน มักจะเก็บคำสั่ง,ตัวแปรหรือโพรซีเยอร์ที่ใช้บ่อยๆไว้เป็นโมดูล ซึ่งจะมีนามสกุล .bas
Class modules
เป็นโมดูลชนิดพิเศษที่มีลักษณะเป็นอ๊อบเจ็กต์ที่เราสามารถสร้างขึ้นมาได้ จะมีนามสกุล .cls
User controls
เป็น ActiveX คอนโทรลที่สร้างขึ้นมามีนามสกุล .ctl


หน้าต่างสำหรับเขียนโค้ด (Code Editor Window)

เป็นส่วนที่ใช้ในการเขียนชุดคำสั่งสำหรับการประมวลผล และควบคุมการทำงานของคอลโทรล ต่าง ๆ เราสามารถเข้าสู่ Code Editor ได้โดยคลิกที่ปุ่ม View Code จากหน้าต่าง Project Explorer
หรือดับเบิลคลิกบนตัวคอนโทรล ส่วนหัวของ Code Editor จะมีลิสต์ แสดงรายการของอ็อปเจ็คทั้งหมดในโปรเจคเรียกว่าอ๊อบเจ็กต์ลิสต์บอกซ์ และรายการแสดงโพรซีเยอร์ของแต่ละอ็อปเจ็กต์เรียกว่าโพรซีเยอร์ลิสบอกซ์



หน้าต่าง Form Layout
หน้าต่าง Form Layout ใช้สำหรับกำหนดตำแหน่งของฟอร์มที่จะปรากฎบนจอภาพในขณะรัน เราสามารถกำหนดตำแหน่งของฟอร์มโดยการเคลื่อนย้ายฟอร์มจำลองที่อยู่ในจอภาพจำลองด้วยการแดรกเมาส์ ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ (เมาส์เปลี่ยนเป็นรูปร่าง ลูกศร 4 ทาง) มีข้อสังเกตคือ ถึงแม้เราจะเคลื่อนย้ายฟอร์มจำลองแล้วแต่ฟอร์มจริงไม่ได้เคลื่อนย้ายไปยังตำแหน่งดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งจะมีผลเมื่อโปรแกรมถูกรันเท่านั้น

Immediate Window

สภาพแวดล้อมโดยรวมของ VBIDE
สภาพแวดล้อมของ VBIDE สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
1.โหมด MDI (Multiple Document Interface) จะแสดงหน้าต่างในรูปแบบเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมปกติของ Visual Basic ดังรูป



เป็นหน้าต่างที่ให้ประโยชน์ ในกรณีที่เราต้องการทราบผล การประมวลผลโดยทันที เช่น การทดสอบโพรซีเยอร์ต่างๆ เป็นต้น เมื่อเราสั่งรันโปรเจ็กต์หน้าต่างนี้จะปรากฎขึ้นโดยอัตโนมัติ เราสามารถแสดงหน้าต่างนี้โดยการเลือกที่เมนู View/Immediate Window เช่นกัน


2.โหมด SDI (Single Document Interface) จะแสดงหน้าต่างที่มีลักษณะเป็นอิสระต่อกัน แต่ยังคงมีความสัมพันธ์กันเหมือนโหมด MDI แต่จะใช้พัฒนาแอพพลิเคชันอีกชนิดหนึ่ง ดังรูป


Visual Basic MSND ออนไลน์
เราสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลและติดตามข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ของ Visual Basic เพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ Visual Basic MSDN ของไมโครซอฟท์ http://msdn2.microsoft.com/en-us/vbasic/default.aspx


เริ่มต้นกับ Visual Basic ภาค 1

เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Visual Basic จะแสดงไดอะล๊อกบ๊อกซ์แสดงรายการของแอพพลิเคชันที่สามารถพัฒนาใน Visual Basic ก่อนอื่นให้เลือกพัฒนาแอพพลิเคชันชนิด Standard.EXE ซึ่งเป็นแอพพลิเคชันที่สามารถรันได้ในระบบปฏิบัติการ Windows ทั่วไป เมื่อโปรเจ็กต์ถูกคอมไพล์ (compile) จะได้แอพพลิเคชันที่มี นามสกุล .exe


เมื่อเลือกชนิดของแอพพลิเคชันแล้ว จะเข้าสู่สภาพแวดล้อม (Environment) ของ Visual Basic 6.0 ซึ่งเรียกว่า Integrated Development Environment – VBIDE

ทำความเข้าใจกับส่วนต่างๆของ VBIDE
VBIDE คือ สภาพแวดล้อมของโปรแกรม Visual Basic 6.0 ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยเมนูบาร์, ทูลบาร์หน้าต่างคุณสมบัติ, หน้าต่าง Project explorer, Form Layout เป็นต้น

ในแต่ละส่วนของ VBIDE จะมีหน้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งเราจะใช้เครื่องมือเหล่านี้ร่วมกันในการพัฒนาแอพพลิเคชัน เช่น แถบเมนูบาร์ (Menu bar) จะมีคำสั่งต่างๆ ที่ครอบคลุมการทำงานทั้งหมด, แถบทูลบาร์ (Tool bar) จะประกอบไปด้วยปุ่มต่างๆ ที่ใช้เรียกคำสั่งในเมนูที่ใช้งานบ่อย เช่น การเปิดโปรเจ็กต์, บันทึกโปรเจ็กต์ เป็นต้น ในหัวข้อนี้จะเป็นการอธิบายการใช้งาน VBIDE เบื้องต้นที่เราควรทราบ

ตารางแสดงรายละเอียดของแอพลิเคชันอื่น ๆ ที่สำคัญ


เมนูบาร์ (Menu Bar)
เมนูบาร์จะแสดงรายการชุดคำสั่งต่าง ๆ เมื่อคลิกบนเมนูหลัก เช่น File, Edit, View, Project และ Format เป็นต้น

ทูลบาร์ (Tool Bar)
ทูลบาร์เป็นชุดของปุ่มคำสั่ง ใช้สำหรับเรียกใช้คำสั่งในเมนูบาร์ที่มีการใช้บ่อย การใช้ทูลบาร์มีประโยชน์ในการลดเวลาในการเรียกใช้คำสั่ง เช่น ถ้าเราปิดหน้าต่าง ทูลบอกซ์, หน้าต่างคุณสมบัติ, หน้าต่าง Project Explorer, หน้าต่าง Form Layout ทั้งหมดเป็นหน้างต่างที่ใช้บ่อยที่สุดถ้าจะเปิดใหม่เราจะต้องเลือกจากเมนู view ถึง 5 ครั้งแต่ถ้าใช้ทูลบาร์เราสามารถคลิกเลือกได้เลย


สำหรับชื่อและหน้าที่ของปุ่มต่างๆ ที่อยู่บนทูลบาร์เราสามารถเลื่อนเคอร์เซอร์ไปวางบนปุ่มนั้นซักครู่จะมีทูลทิป (ToolTip) ขึ้นมา


ทูลบาร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1.ทูลบาร์ Standard ถือได้ว่าเป็นทูลบาร์ปกติ (Default) ที่เราต้องใช้งานทุกครั้งและบ่อยที่สุด ทูลบาร์ Standard ประกอบด้วยคำสั่งที่เกี่ยวกับการใช้งานทั่วๆ ไป เช่น การเปิดโปรเจ็กต์, บันทึกโปรเจ็กต์ และประกอบด้วยคำสั่งที่สำคัญของเมนูบาร์ เช่น File, Project, Debug, Run, Tool


2.ทูลบาร์ Edit จะใช้ทูลบาร์นี้เมื่อเราเริ่มเขียนโค้ดใน code editor คำสั่งหลักของทูลบาร์กลุ่มนี้ก็คือ Cut, Paste ซึ่งก็คือ คำสั่งในเมนู Edit นั่นเอง


3.ทูลบาร์ Debug จะประกอบไปด้วยคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบโค้ด เช่น Run, Stop, Pause เป็นต้น เป็นกลุ่มคำสั่งที่ต้องใช้บ่อยเช่นกัน เพราะจะเป็นการทดสอบโค้ดว่าทำงานได้ตามที่ต้องการหรือไม่ ในบางครั้งอาจต้องใช้ควบคู่ไปกับหน้าต่าง Immediate


4.ทูลบาร์ Form Editor เป็นกลุ่มคำสั่งนี้สำหรับการปรับขนาด, ย้าย, เปลี่ยนตำแหน่งคอนโทรลต่างๆ ที่อยู่บนฟอร์ม เป็นคำสั่งที่เหมือนกับเมนู Format


ทูลบ๊อกซ์ (Tool Box)
แถบทูลบ๊อกซ์เป็นที่รวบรวมคอนโทรล (Controls) ต่างๆ ที่ใช้ในการพัฒนาแอพพลิเคชันคอนโทรลใน Visual Basic สามารถแยกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 2 กลุ่มคือ
1. Intrinsic คอนโทรล (Intrinsic controls) เป็นชุดคอนโทรลมาตรฐานของ Visual Basic 6 เมื่อเข้าสู่ VBIDE คอนโทรลกลุ่มนี้จะถูกโหลดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ เราสามารถเลือกใช้งานคอนโทรลกลุ่มนี้ได้ทันที โดยที่ไม่ต้องใช้ไฟล์เพิ่มเติมและไม่สามารถถอด (Remove) คอนโทรลชุดนี้ออกจาก VBIDE ได้ เป็นกลุ่มคอนโทรลที่ใช้งานโดยทั่วไปในทุกๆ แอพพลิเคชันและเป็นกลุ่มคอนโทรลกลุ่มที่ใช้มากที่สุด


2. ActiveX คอนโทรล (ActiveX controls) เป็นชุดคอนโทรลที่นอกเหนือจาก Intrinsic controls ซึ่งไฟล์เป็นชนิด *.ocx โดยทั่วไป Activex คอนโทรลอาจจะเป็นคอนโทรลที่พัฒนาโดยไมโครซอร์ฟหรือผู้พัฒนาซอร์ฟแวร์อื่น ๆ ก็ได้ การเพิ่มคอนโทรลกลุ่มนี้เข้ามาในทูลบ๊อกซ์ ทำได้โดยการเลือกเมนู Project และคลิกเลือกComponents (Ctrl+T) หรือคลิ๊กขวาบริเวณแถบทูลบ๊อกซ์เลือกคำสั่ง Components… ก็ได้


ในบทความนี้เราก็ได้ทราบถึง IDE คร่าว ๆ ของโปรแกรมวิชวลเบสิก คิดว่าหลาย ๆ คนคงเคยใช้แต่อาจจะยังไม่รู้ลึกถึงรายละเอียด สิ่งที่อยากจะเน้นย้ำก็จะเป็นส่วนที่ใช้บ่อยเช่น กลุ่ม Tool box และ Control ต่าง ๆ อ้อยังไม่จบแค่นี้นะ เรายังมี IDE ที่สำคัญจะพูดกันในความต่อไป