วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เริ่มต้นกับ Visual Basic ภาค 2

หน้าต่างคุณสมบัติ (Properties Window)
                หน้าต่างคุณสมบัติใช้สำหรับการกำนหนดค่าคุณสมบัติหรือการปรับแต่งค่าเริ่มต้น (Initial) ของคอนโทรลหรืออ๊อบเจ็กต์ใด ๆ



ในบทต่อไปเราจะเรียกคุณสมบัติของคอนโทรลใด ๆ ว่า “พร็อพเพอร์ตี้” ซึ่งส่วนใหญ่เราจะคุ้นเคยและเป็นสากลมากกว่า

หน้าต่าง Project Explorer (Project Explorer Window)

หน้าต่าง Project Explorer ช่วยให้เราสามารถบริหารและจัดการหลายๆโปรเจ็กต์ได้ในเวลาเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเนื่องจาก Visual Basic 6.0 สนับสนุนการพัฒนาแบบ Multiple Project ซึ่งสามารถบันทึกโปรเจ็กต์เป็นกลุ่มงานได้ (นามสกุล .vbg) โดยที่ Visual Basic จะจัดกลุ่มโปรเจ็กต์ต่างๆ ให้เราโดยอัตโนมัติ ซึ่งถ้ามีโปรเจ็กต์เดียวก็จะมีนามสกุล .vbp


โปรเจค group

สำหรับรายการชนิดของอ๊อบเจ็กต์ที่ปรากฎอยู่ในหน้าต่าง Project Explorer นี้มีหลายชนิด โดยทั่วไปการสร้างแอพลิเคชันให้ดีระดับหนึ่งจะมีอ๊อบเจ็กต์แต่ละชนิดดังนี้



ตารางแสดงอ๊อบเจ็กต์ของแอพลิเคชัน

ชนิดอ๊อบเจ็กต์
รายละเอียด
Project(n)
แสดงแอพพลิเคชันที่กำลังพัฒนาอยู่ อาจมีโปรเจ็กต์เดียวหรือหลายโปรเจ็กต์ก็ได้ โดยปกติจะมีนามสกุล .vbp ถ้ามีหลายโปรเจ็กต์จะมีนามสกุล .vbg
Form(n)
เป็นรายการฟอร์มที่มีอยู่ในโปรเจ็กต์นั้นๆ ในโปรเจ็กต์อาจมีมากกว่า 1 ฟอร์มก็ได้ จะมีนามสกุล .frm
Modules
เป็นที่เก็บชุดคำสั่งหรือรูทีน มักจะเก็บคำสั่ง,ตัวแปรหรือโพรซีเยอร์ที่ใช้บ่อยๆไว้เป็นโมดูล ซึ่งจะมีนามสกุล .bas
Class modules
เป็นโมดูลชนิดพิเศษที่มีลักษณะเป็นอ๊อบเจ็กต์ที่เราสามารถสร้างขึ้นมาได้ จะมีนามสกุล .cls
User controls
เป็น ActiveX คอนโทรลที่สร้างขึ้นมามีนามสกุล .ctl


หน้าต่างสำหรับเขียนโค้ด (Code Editor Window)

เป็นส่วนที่ใช้ในการเขียนชุดคำสั่งสำหรับการประมวลผล และควบคุมการทำงานของคอลโทรล ต่าง ๆ เราสามารถเข้าสู่ Code Editor ได้โดยคลิกที่ปุ่ม View Code จากหน้าต่าง Project Explorer
หรือดับเบิลคลิกบนตัวคอนโทรล ส่วนหัวของ Code Editor จะมีลิสต์ แสดงรายการของอ็อปเจ็คทั้งหมดในโปรเจคเรียกว่าอ๊อบเจ็กต์ลิสต์บอกซ์ และรายการแสดงโพรซีเยอร์ของแต่ละอ็อปเจ็กต์เรียกว่าโพรซีเยอร์ลิสบอกซ์



หน้าต่าง Form Layout
หน้าต่าง Form Layout ใช้สำหรับกำหนดตำแหน่งของฟอร์มที่จะปรากฎบนจอภาพในขณะรัน เราสามารถกำหนดตำแหน่งของฟอร์มโดยการเคลื่อนย้ายฟอร์มจำลองที่อยู่ในจอภาพจำลองด้วยการแดรกเมาส์ ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ (เมาส์เปลี่ยนเป็นรูปร่าง ลูกศร 4 ทาง) มีข้อสังเกตคือ ถึงแม้เราจะเคลื่อนย้ายฟอร์มจำลองแล้วแต่ฟอร์มจริงไม่ได้เคลื่อนย้ายไปยังตำแหน่งดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งจะมีผลเมื่อโปรแกรมถูกรันเท่านั้น

Immediate Window

สภาพแวดล้อมโดยรวมของ VBIDE
สภาพแวดล้อมของ VBIDE สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
1.โหมด MDI (Multiple Document Interface) จะแสดงหน้าต่างในรูปแบบเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมปกติของ Visual Basic ดังรูป



เป็นหน้าต่างที่ให้ประโยชน์ ในกรณีที่เราต้องการทราบผล การประมวลผลโดยทันที เช่น การทดสอบโพรซีเยอร์ต่างๆ เป็นต้น เมื่อเราสั่งรันโปรเจ็กต์หน้าต่างนี้จะปรากฎขึ้นโดยอัตโนมัติ เราสามารถแสดงหน้าต่างนี้โดยการเลือกที่เมนู View/Immediate Window เช่นกัน


2.โหมด SDI (Single Document Interface) จะแสดงหน้าต่างที่มีลักษณะเป็นอิสระต่อกัน แต่ยังคงมีความสัมพันธ์กันเหมือนโหมด MDI แต่จะใช้พัฒนาแอพพลิเคชันอีกชนิดหนึ่ง ดังรูป


Visual Basic MSND ออนไลน์
เราสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลและติดตามข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ของ Visual Basic เพิ่มเติมได้จากเวปไซต์ Visual Basic MSDN ของไมโครซอฟท์ http://msdn2.microsoft.com/en-us/vbasic/default.aspx


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น